วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พิธีโกนผมไฟ

  • พิธีมงคลโกนผมไฟ

พิธีมงคลโกนผมไฟ ทำเมื่อเด็กมีอายุครบ 1 เดือน ส่วนมากมักทำรวมกันกับพิธีมงคลทำขวัญเดือน เป็นพิธีที่เอิกเกริกขึ้น เพราะมีการประกอบพิธีทั้งทางพราหมณ์และทางพิธีสงฆ์ การเตรียมการก็มีการบอกกล่าวไปยังญาติพี่น้อง และผู้ที่เคารพนับถือจะทำพิธีมงคลโกนผมไฟเด็ก ตกแต่งบ้านเรือนที่จะใช้ประกอบพิธี นิมนต์พระสงฆ์ไว้ให้พร้อม และเชิญพราหมณ์มาประกอบพิธี กับเตรียมเครื่องบายศรี เครื่องกระยาบวด และแป้งกระแจะ ตลอดจนเครื่องใช้อื่น ๆ ตามที่พราหมณ์จะกำหนดให้เตรียมไว้ เมื่อถึงเวลาก็นำเด็กมานานหันหัวไป ตามที่ที่โหรกำหนด ให้ผู้เป็นประธานกล่าวจุดธูปเทียนและกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย และกล่าวคำอัญเชิญเทวดา เมื่อได้ฤกษ์ที่กำหนดไว้โหรก็ลั่นฆ้องชัย ผู้เป็นประธานหลั่งน้ำสังข์ลงบนศีรษะเด็ก และเอามีดโกนมาแตะผมเด็กพอเป็นพิธี ในระหว่างนี้พระสงฆ์สวดชยันโต พราหมณ์เป่าสังข์และดีดบัณเฑาะว์ พิณพาทย์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์มหาชัย มีการให้ศีลให้พรแล้วให้ช่างมาโกนผมไฟออกให้หมด นำเด็กไปอาบน้ำในอ่างน้ำอุ่นที่เจือน้ำพระพุทธมนต์ แล้วนำมาวางไว้บนเบาะข้างเครื่องบายศรี ในตอนนี้มีการถวายอาหารแด่พระสงฆ์ พระท่านอนุโมทนาแล้วลากกลับ ต่อจากนั้นก็เอา
  • พิธีมงคลทำบุญขึ้นบ้านใหม่

ในพิธีการทำบุญขึ้นบ้านใหม่นั้น ถ้าเจ้าบ้านมีความประสงค์ที่จะประกอบพิธีตามทางศาสนา และมีการเชิญแขกให้มาร่วมด้วยก็มีหลักที่จะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

1. ต้องกำหนดวันการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ให้เป็นที่แน่นอนและการเลือกวันที่ว่านี้ ถ้าต้องการให้เป็นมงคลตามความเชื่อถือที่มีมาแต่โบราณแล้ว ก็พึงไปหารือกับผู้ที่มีความรู้ทางโหราศาสตร์ให้กำหนดวันและเวลาให้

2. ออกบัตรเชิญแขกให้มาร่วมในพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ และส่งบัตรนั้นออกไปในระยะเวลาก่อนถึงวันกำหนดพอสมควร ในบัตรนั้น ต้องบอกตำบลบ้านที่จะประกอบพิธี กำหนดวัน เวลาอย่างชัดเจน

3. เมื่อใกล้กับวันที่กำหนดไว้ ต้องเตรียมตกแต่งบ้านเรือนที่จะทำบุญ ขึ้นบ้านใหม่นั้นให้เรียบร้อยงามตาตามสมควร

4. เตรียมส่งของที่จำเป็นใช้ในวันประกอบพิธีให้พร้อมเช่น พระพุทธรูป ขันน้ำพระพุทธมนต์ ใบไม่ที่จะใช้สำหรับประพรมน้ำพระพุทธมนต์ อาสนะสำหรับปูรองรับพระสงฆ์ และอื่น ๆ ตามความต้องการของผู้รอบรู้ในการประกอบพิธีนี้

5. เตรียมด้วยสำหรับทำสายสิญจน์ บาตรน้ำมนต์และอื่น ๆ

6. ถ้าต้องการให้มีการยกศาลพระภูมิในวันนั้นด้วย ก็ต้องเชิญผุ้มีความรู้ในทางนี้มาเป็นผู้ทำหน้าที่ประกอบพิธีในวันนั้นด้วย

7. ควรเตรียมต้อนรับรองแขกให้พร้อม และมีการนัดหมายกับผู้ทำหน้าที่ต้อนรับแขกให้เป็นที่เข้าใจว่าใครมีหน้าที่ที่จะต้องทำอย่างไร

8. ถ้ามีการเลี้ยงอาหารแขกด้วย ก็ต้องเตรียมห้องอาหารและอาหารให้พร้อม ข้อที่ผู้ไปร่วมงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่พึงปฏิบัติ มีดังนี้คือ

1. ผู้เป็นแขกต้องแต่งกายให้เรียบร้อยตามสมควร
    หรืออาจจะแต่งกายตามประเพณีของพื้นบ้านที่อยู่นั้นได้
2. พึงไปยังบ้านที่มีการประกอบพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ก่อนเวลาที่กำหนด
    ไว้สักเล็กน้อยเพื่อป้องการรอคอยของเจ้าของบ้านผู้เชิญเรา
3. ควรหาของขวัญไปกำนัลแด่เจ้าภาพตามสมควร
4. ผู้เป็นแขกไม่พึงวิจารณ์บ้านใหม่ของเจ้าภาพให้เป็นไปในทางไม่เหมาะสม
   เพราะจะทำให้เจ้าบ้านเกิดความไม่พอใจต่อบ้านของตนขึ้นมา และไม่เป็นสุข
   ในเมื่อทราบว่าบ้านของตนไม่เหมาะสมตามที่แขกกล่าววิจารณ์
5. เมื่อเสร็จพิธี และถ้ามีการรับประทานอาหารแล้ว ผู้เป็นแขกต้อง
   อยู่สังสรรค์สนทนากับเจ้าของบ้านในเวลาพอสมควร
6. ก่อนลากลับ ควรมีการอวยพร และแสดงความปรารถนาให้เขาอยู่บ้านใหม่ด้วยความสุข

งานบำเพ็ญกุศลศพ (อวมงคล)

ทำบุญงานอวมงคล


ทำบุญงานอวมงคล
     การ ทำบุญงานอวมงคล หมายถึง การทำบุญเกี่ยวกับเรื่องการตายดังกล่าวแล้ว นิยมทำกันอยู่ ๒ อย่างคือ ทำบุญหน้าศพ ที่เรียกกันว่าทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพ อย่างหนึ่ง ทำบุญอัฐิหรือทำบุญปรารภการตาย ของบรรพบุรุษ หรือผู้ใดผู้หนึ่ง ในวันคล้ายกับวันตายของท่านผู้ล่วงลับไปแล้วอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่างนี้ มีระเบียบ ที่จะพึงปฏิบัติ ดังนี้
       ก. งานทำบุญหน้าศพ
     พิธี ฝ่ายเจ้าภาพ ในงานทำบุญหน้าศพ มีกิจกรรมที่ควรตระเตียมไว้เป็น เบื้องต้น ส่วนใหญ่คล้ายกับงานทำบุญมงคล แต่มีข้อแตกต่างอยู่บางประการ คือ
     ๑. อาราธนาพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ มีจำนวนนิยม ๘ รูป หรือ ๑๐ หรือกว่า นั้นขึ้นไป แล้วแต่กรณี ในเรื่องอาราธนาพระสงฆ์สำหรับทำบุญงานอวมงคล ไม่ใช้คำอาราธนาว่า ่ขออาราธนาเจริญพระพุทธมนต์เหมือนอย่างทำบุญงานมงคล แต่ใช้คำอราธนาว่า ขออราธนา สวดพระพุทธมนต์
     ๒. ไม่ตั้งน้ำวงด้าย หมายความว่า ไม่ต้องตั้งภาชนะน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ และไม่มี การวงด้ายสายสิญจน์
     ๓. เตียมสายโยงหรือภูษาโยงต่อจากศพไว้ เพื่อใช้บังสุกุลสายโยงนั้น ก็ใช้สายสิญจน์ นั่นเอง แต่ไม่เรียกว่าสายสิญจน์เหมือนงานมงคล เรียกว่า สายโยง ถ้าไม่ใช้สายสิญจน์โยง มีหลักที่ต้องระวังอย่างหนึ่ง คือ จะโยงในที่สูงกว่าพระพุทธรูป ที่ตั้งในพิธีไม่ได้ และจะปล่อย ให้ลาดมากับพื้นที่เดินหรือนั่งก็ไม่เหมาะเพราะสายโยงนี้ เป็นสาย ที่ล่ามโยงออกมาจากกระหม่อม ของศพ เป็นสิ่งเนื่องด้วยศพ จึงต้องล่ามหรือโยงให้สมควร
     ส่วนการปฏิบัติกรณียกิจ ในเมื่อพระสงฆ์มาถึงตามกำหนดแล้วก็คล้ายกับงานมงคล
     สำหรับ ข้อปฏิบัติในวันเลี้ยงพระ ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในงานมงคล มีแต่เพียงว่า ในงานมงคล หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว นิยมให้มีบังสุกุล แล้วจึงถวายไทยธรรม เมื่อพระสงฆ์ อนุโมทนาพึงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลต่อไป
     พิธี ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ต้องใช้พัดที่เกี่ยวกับงานศพเป็นเหมาะสม เพราะงานอวมงคล เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตายทั้งสิ้น ถ้าไม่มี จะใช้พัดงานอื่นก็ได้ เช่น พัดงานฉลองต่าง ๆ การสวดมนต์ ในงานอวมงคลนี้ (สวดมนต์เย็นและฉันวันรุ่งขึ้น) มีระเบียบนิยมเหมือนกัน ในตอนต้นและตอนท้าย ทุกงาน ต่างกันแต่ตอนกลาง ซึ่งมีนิยมเฉพาะงาน ๆ ดังนี้
     ๑. ทำบุญศพ ๗ วัน สวดอนัตตลักขณสูตร
     ๒. ทำบุญศพ ๕๐ วัน สวดอาทิตตปริยายสูตร
     ๓. ทำบุญศพ ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพสวดธรรมนิยามสูตร
     ๔. ทำบุญศพในวาระอื่นจากที่กล่าวนี้จะสวดสูตาอื่นใดนอกจากที่กล่าว นี้ก็ได้ แล้วแต่ เจ้าภาพประสงค์หรือหัวหน้านำสวด แต่มีธรรมเนียมอยู่ว่า ไม่สวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัย
     ใน การสวดนี้ มีระเบียบปฏิบัติ คือ เมื่อพระหัวหน้าให้ศีลและเจ้าภาพอาราธนา สวดพระปริตรจบแล้ว ไม่ต้องขัด สคฺเค พระทุกรูปประนมมือพร้อมกันแล้ว หัวหน้านำสวด
       ก. นมการปาฐะ (นโม......)
       ข. สรณคมนปาฐะ (พุทฺธํ สรณํ.....)
       ค. ปัพพโตปมคาถาและอริยธนคาถา (ยถาปิ เสลา....)
     พอ จบตอนนี้ ทั้งหมดลดมือลง แล้วรูปที่นั่งอันดับ ๓ ตั้งพัดขัดบทขัดของสูตร ที่กำหนด สวดตามงานสูตรใดสูตรหนึ่ง เมื่อขัดจบวางพัด ทุกรูปประนมมือพร้อมกันอีก หัวหน้านำสวดสูตร ที่ขัดนำนั้น จบสูตรแล้ว นำสวดบทท้ายสวดมนต์ของงานอวมงคลต่อ คือ
       ก. ปฏิจจปมุปบาท (อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา....)
       ข. พุทธอุทานคาถา (ยทา หเว....)
       ค. พุทเทกรัตตคาถา (อตีตํ นานฺวาคเมยฺย....)
       ฆ. ภวตุ สพฺพมงฺคลํ....
     ถ้าสวดธรรมนิยามสูตร ใช้สวดติลักขณาทิคาถา (สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯเปฯ เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ) ก่อนสวดปฏิจจสมุปบาท
     เมื่อ พระสวดมนต์จบแล้ว ถ้ามีการชักผ้าบังสุกุลต่อท้าย เจ้าจะลากสายโยงหรือภูษาโยง แล้วทอดผ้า พอทอดถึงรูปสุดท้าย พระสงฆ์ก็ตั้งพัดพร้อมกัน (อย่าข้าสายโยง หรือภูษาโยง เพราะ จะถือว่าเป็นการข้ามศพ) การตั้งพัดในพิธีชักบังสุกุลของพระให้ใช้มือซ้ายจับพัดแล้วใช้มือ ขวาจับผ้าบังสุกุล
     ใน กรณีที่เจ้าภาพบำเพ็ญกุศลเพียงสดมนต์ ไม่มีการเลี้ยงพระ ไม่ต้องสวดบทถวาย พรพระ เมื่อพระสงฆ์รับไทยธรรมแล้ว หากไม่มีการรีบด่วน ในการอนุโมทนาด้วยบทวิเสส อนุโมทนา พึงใช้บท อทาสิ เมเพราะศพยังปรากฏอยู่
       ข. งานทำบุญอัฐิ
     พิธี ฝ่ายเจ้าภาพ พึงจัดตระเตียมทำนองเดียวกับงานทำบุญหน้าศพที่กล่าวแล้ว ทุกประการ ต่างแต่เพียงงานนี้เป็นงานทำบุญหน้าอัฐิหรือรูปที่ระลึกของผู้ที่ล่วงลับ เป็นต้น เจ้าภาพต้องเตรีมที่ตั้งอัฐิหรือที่ตั้งรูประลึกนั้น ๆ ต่างหากจากโต๊ะบูชา จะใช้โต๊ะหมู่หรือโต๊ะอื่นใด ที่สมควรก็ได้ ให้มีออกไม้ตั้งหรือประดับพองามตามแต่จะพึงจัดได้ และตั้งกระถางธูปกับเชิงเทียน ๑ คู่ ที่หน้าโต๊ะอัฐิหรือรูปนั้นด้วยเพื่อบูชา จะใช้พานหรือกระบะเครื่องห้าสำหรับบูชาแทนก็ได้ ข้อสำคัญให้ดูงามเด่นพอควร เป็นใช้ได้
     พิธี ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ส่วนใหญ่ก็พึงปฏิบัติเช่นเดียวกับงานทำบุญหน้าศพ ต่างแต่ การสวดมนต์ นิยมใช้สูตรอืท่นจากอนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร และธรรมนิยามสูตร ที่ใช้สำหรรับงานทำบุญศพ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือหน้าวัน ปลงศพดังกล่าวแล้ว (ในปัจจุบัน สวดธรรมนิยามสูตรก็มี) ทั้งนี้แล้วแต่หัวหน้าสงฆ์ จะกะนัดหมาย หรือเจ้าภาพจำนง หมาย เช่น สติปัฏฐานปาฐะ เป็นต้น


ความหมาย

     พิธี ถวายทานต่าง ๆ เรียกว่า ทานพิธี ในที่นี้จะกว่าเฉพาะทานพิธีสามัญ ที่จำเป็น และนิยมบำเพ็ญกันอยู่ทั่วไป และจะกล่าวเฉพาะระเบียบปฏิบัติกับคำถวาย ของฝ่ายทายกเท่านั้น
     การถวายทาน คือ การถวายวัตถุที่ควรให้เป็นทาน ในพระพุทธศาสนา เรียกวัตถุที่ควร ให้เป็นทานนี้ว่าทานวัตถุท่าน จำแนกไว้ ๑๐ ประการ คือ (๑) ภัตตาหาร (๒) น้ำรวม ทั้งเครื่องดื่มอันควรแก่สมณบริโภค (๓) ผ้าเครื่องนุ่งห่ม (๔) ยานพาหนะ สงเคราะห์ ปัจจัยค่าโดยสารเข้าด้วย (๕) มาลัยและดอกไม้เครื่องบูชาชนิด ต่าง ๆ (๖) ของหอม หมายถึง ธูปเทียนบูชาพระ (๗) เครื่องลูบไล้ หมายถึง เครื่อง สุขภัณฑ์สำหรับชำระร่างกายให้สะอาด มีสบู่ถูกตัว เป็นต้น (๘) เครื่องที่นอนอันควรแก่สมณะ (๙) ที่อยู่อาศัย มีกุฏิเสนาสนะ และ เครื่องสำหรับเสนาสนะเช่น เตียง ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น (๑๐) เครื่องตามประทีป มีเทียน จุดใช้แสงตะเกียง น้ำมันตะเกียงและไฟฟ้า เป็นต้น ทั้ง ๑๐ ประการนี้ควรแก่การถวายเป็นทาน แก่ภิกษุสามเณร เพื่อใช้สอย หรือบูชาพระตามสมควร แต่การถวายทานนี้มีนิยม ๒ อย่าง คือ
     ๑. ถวายเจาะจงเฉพาะรูปนั้นรูปนี้อย่างหนึ่ง เรียกว่า ปาฏิบุคลิกทาน
     ๒. ถวายไม่เจาะจงรูปใด มอบเป็นของกลางให้สงฆ์จัดเฉลี่ยกันใช้สอยเอง อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า สังฆทาน
     สำหรับ ปาฏิบุคลิกทานไม่จำต้องมีพิธีกรรมอะไรในการถวาย เพราะผู้ถวายเกิดศรัทธา จะถวายสิ่งไร แก่ภิกษุหรือสามเณรรูปใด ก็จัดสิ่งนั้นมอบถวายเฉพาะรูปนั้น เป็นรายบุคคล สำเร็จเป็นทานแล้ว และผู้รับปาฏิบุคคลทาน จะอนุโมทนาอย่างไรนั้น ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลเช่นกัน
     แต่ สำหรับสังฆทาน เป็นการถวายสงฆ์เกี่ยวกับพระสงฆ์ส่วนรวมในวัด จัดเป็น การสงฆ์ไม่ใช่การบุคคลดังกล่าว จึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องด้วยพิธีกรรม โดยเฉพาะการถวาย และการอนุโมทนาของสงฆ์ย่อมมีพิธีปฏิบัติ ฉะนั้นในหมวดนี้ จึงจะกล่าวทานพิธีเฉพาะส่วน ที่ถวายเป็นการสงฆ์อย่างเดียว และทานที่ถวายสงฆ์นั้น แม้มีกำหนดวัตถุเป็น ๑๐ ชนิดแล้ว ก็มีนิยมถวายวัตถุใน ๑๐ ชนิดนั้นเป็นรายการ ๆ แยกคำถวายต่างกันออกไปอีกมากมาย แต่จะเป็นถวายอะไรก็ตาม เมื่อสงเคราะห์ก็อยู่ในปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช ทั้งนั้น และการถวายก็มีนิยมเป็น ๒ คือ ถวายในกาลที่ควรถวายสิ่งนั้น ๆ เรียกว่า กาลทาน ๑ ถวายไม่เนื่องด้วยกาลหรือนอกกาลอีก ๑ ซึ่งมีระเบียบปฏิบัติ ดังนี้


ระเบียบพิธี

     ๑. หลักสำคัญของการถวายทานเป็นการสงฆ์มีอยู่ว่า ต้องตั้งใจถวายเป็นสงฆ์จริง ๆ อย่าเห็นแก่หน้าบุคคลผู้รับว่า เป็นภิกษุหรือสามเณร เป็นพระสังฆเถระ หรือพระอันดับ ถ้ามิฉะนั้นแล้วจะเป็นเหตุให้จิตใจไขว้เขว เกิดความยินดียินร้าย ไปตามบุคคลผู้รับ ซึ่งจะเสีย พิธีสังฆทานไป ควรทำใจว่าผู้รับจะเป็นบุคคลชนิดใด ๆ ก็ตาม เมื่อเป็นผู้รับในนามของสงฆ์ ซึ่งสงฆ์จัดมา หรือเป็นผู้มาถึงเฉพาะหน้า ในขณะตั้งใจถวายสงฆ์แล้ว ก็ถวายทานนั้น ๆ อุทิศให้ เป็นสงฆ์จริง ๆ
     ๒. ตระเตรียมทานวัตถุที่ต้องการถวายให้เสร็จเรียบร้อย ตามศรัทธาและทันเวลาถวาย ถ้าเป็นภัตตาหาร จีวร และคิลานเภสัช ซึ่งเป็นวัตถุยกประเคนได้ จะเป็นของถวายเนื่องด้วยกาล หรือไม่ก็ตาม ต้องจัดให้ถูกต้องตามนิยมของทานชนิดนั้น ๆ แต่ถ้าเป็นเสนาสนะหรือเครื่องเสนาสนะ ซึ่งต้องก่อสร้างกับที่และเป็นของใหญ่ใช้ติดที่ ก็ต้องเตรียมการตามสมควร
     ๓. เผดียงสงฆ์ คือ แจ้งความประสงค์ที่จะถวายทานนั้น ๆ ให้สงฆ์ทราบ ถ้าเป็น ภัตตาหาร หรือ จีวร คิลานเภสัช ซึ่งมีจำนวนจำกัดไม่ทั่วไปแก่สงฆ์ ผู้รับให้ตามจำนวนต้องการ และนัดแนะสถานที่กับกำหนดเวลาให้เรียบร้อยด้วย
     ๔. ในการถวายทานนั้น ถ้ามีพิธีอื่นประกอบด้วย ก็เป็นเรื่องของพิธีแต่ละอย่าง ๆ ไป เฉพาะพิธีถวายทานเมื่อถึงกำหนด ฝ่ายทายกพึงดำเนินพิธี ดังนี้
       ก. จุดธูปเทียนหน้าที่บูชาพระ ถ้ามีตั้งอยู่ด้วย
       ข. อาราธนาศีล และรับศีล
       ค. ประนมมือกล่าวว่าคำถวายทานนั้น ๆ ตามแบบ
     ใน การกล่าวคำถวายนี้ ทุกครั้ง ต้องตั้ง นโมก่อน ๓ จบ ถ้าถวายรวมกันมากคน ควรว่า นโม พร้อมกันก่อน แล้วหัวหน้ากล่าวนำคำถวายให้ผู้อื่นว่าตามเป็นคำ ๆ ทั้งคำบาลีและคำแปล จนจบ แต่คำแปลในบางกรณีที่มีคำถวายบาลียืดยาวจะเว้นไม่กล่าวก็ได้ ต่อนั้นถ้าเป็นของควร ประเคนก็ประเคน จะประเคนสิ่งของประเภทอาหารแต่เที่ยงแล้วไปหาได้ไม่ อนึ่ง เสนาสนะหรือ วัตถุที่ใหญ๋โต ไม่สามารถจะยกประเคนได้ ถ้าประสงค์จะประเคน ใช้น้ำหลั่งลงบนมือของสงฆ์ผู้เป็น ประธานในพิธี ก็ถือว่าได้ประเคนแล้ว
     ๕. พระสงฆ์ที่ได้รับอาราธนา เพื่อรับสังฆทานตามธรรมเนียมของทานนั้น ๆ แล้ว บางพวก ในขณะที่ทายกกล่าวคำถวายทานประนมมือ เป็นอาการแสดงถึงการรับทานโดยเคารพ เมื่อทายกกล่าวคำถวายจบแล้ว เปล่งวาจา สาธุ พร้อมกัน บางพวก เมื่อทายกกล่าวคำถวายจบ แล้วจึงประนมมือ เปล่งวาจา สาธุ ทั้งนี้ สุดแต่จะควร สถานใดกล่าวไว้ตามที่เคยเห็นเท่านั้น เมื่อเสร็จการประเคนแล้ว พึงอนุโมทนาด้วยบท
       ก. ยถา....................................................................................
       ข. สพฺพีติโย.............................................................................
       ค. บทอนุโมทนาโดยควรแก่ทาน..................................................
       ฆ. ภวตุ สพฺพมงฺคลํ.................................................................
     ๖. ขณะพระสงฆ์อนุโมทนา ทายกพึงกรวดน้ำ เมื่อพระเริ่มบท ยถา... พอถึงบท สพฺพีติโย... เป็นต้นไป พึงประนมมือรับพรไปจนจบ แล้วกราบ ๓ หน เป็นอัน เสร็จพิธีถวายทาน
คำถวายสังฆทาน (ประเภทสามัญ)
อิมานิ มยํ ภนฺเต ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ


คำถวายต่างๆ
คำถวายสังฆทาน (ประเภทมตกภัตอุทิศผู้ตาย)
อิมานิ มยํ ภนฺเต มตกภตฺตานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, มตกภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากญฺเจว, มาตาปิตุ อาทีนญฺจ �าตกานํ, กาลกตานํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายมตกภัตตาหาร กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับมตกภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีมารดาบิดา เป็นต้น ผู้ทำกาละล่วงลับไปแล้วด้วย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

คำถวายสลากภัต
เอตานิ มยํ ภนฺเต, สลากภตฺตานิ, สปริวารานิ, อสุกฏฺาเน, €ปิตานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, เอตานิ, สลากภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายสลากภัตตาหารกับทั้งบริวาร ทั้งหลาย ซึ่งตั้งไว้ ณ ที่โน้นนั้น แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ซึ่งสลากภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านั้น ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายข้าวสาร
อิมานิ มยํ ภนฺเต ตณฺฑุลานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ อิมานิ, ตณฺฑุลานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายข้าวสารกับทั้งเครื่องบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับข้าวสารกับทั้งเครื่องบริวารทั้งหลาย เหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและ ความร่มเย็นเป็นสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายเภสัชทานมีน้ำผึ้งเป็นต้น
สรโท นามายํ ภนฺเต, กาโล สมฺปตฺโต, ยตฺถ ตถาคโต, อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ, สารทิกาพาเธน อาพาธิกานํ, ภิกฺขูนํ, ปญฺจ เภสชฺชานิ, อนุญฺ�าสิ, สปฺปึ, นวนีตํ, เตลํ, มธุํ ผาณิตํ, มยนฺทานิ, ตกฺกาลสทิสํ สมฺปตฺตา ตสฺส ภควโต, ปญฺ�ตฺตานุคํ, ทานํ ทาตุกามา, เตสุ ปริยาปนฺนํ, มธุํ จ, เตลํ จ, ผาณิตํ จ, ภิกฺขูนญฺเจว, สามเณรานญฺจ, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, อยฺยา ยถาวิภตฺตา, มธุทานํ จ, เตลํ จ, ผาณิตํ จ, ปฏิคฺคณฺหนฺตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แด่พระสงฆ์ผู้เจริญ บัดนี้สรทกาลมาถึงแล้ว ในกาลใดเล่า พระตถาคต อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ทรงอนุญาตเภสัช ๕ อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แก่ภิกษุ ทั้งหลายผู้อาพาธ ด้วยโรคเกิดในสรทกาล บัดนี้ข้าพเจ้าทั้งหลาย มาถึงกาลเช่นนี้แล้ว ปรารถนา จะถวายทานตามพระพุทธานุญาต ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จึงถวายน้ำผึ้งกับน้ำมันและน้ำอ้อย อันนับเข้าในเภสัช ๕ อย่างนั้น แก่ภิกษุและสามเณรทั้งหลาย ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงรับ มธุทาน เตลทาน และผาณิตทาน ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ตามที่แจกถวายแล้วนั้น เพื่อประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายเสนาสนะ กุฏิ วิหาร
อิมานิ มยํ ภนฺเต, เสนาสนานิ, อาคตานาคตสฺส, จาตุทฺทิสสฺส, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, เสนาสนานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเสนาสนะเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี ยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ เสนาสนะเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายศาลาโรงธรรม
มยํ ภนฺเต, อิมํ สาลํ, ธมฺมสภาย, อุทฺทิสฺส, จาตุทฺทิสสฺส, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมํ สาลํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายศาลาหลังนี้แก่พระภิกษุสงฆ์ที่มี ในทิศทั้ง ๔ อุทิศเพื่อเป็นสถานที่แสดงธรรม ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ศาลาหลังนี้ของข้าพเจ้า ทั้งหลายเพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายผ้าวัสสิกสาฎก
อิมานิ มยํ ภนฺเต, วสฺสิกสาฏิกานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, วสฺสิกสาฏิกานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าอาบน้ำฝน กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ผ้าอาบน้ำฝน กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
หมายเหตุ :- ถ้าไม่มีเครื่องบริวารถวายพ่วงด้วย ก็ตัดคำบาลีว่า สปริวารานิและคำแปลว่า กับทั้งบริวารออกเสียทุกแห่ง

คำถวายผ้าจำนำพรรษา
อิมานิ มยํ ภนฺเต, วสฺสาวาสิกจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, วสฺสาวาสิกจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจำนำพรรษา กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าจำนำพรรษา กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลายเพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายผ้าอัจเจกจีวร
อิมานิ มยํ ภนฺเต, อจฺเจกจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, อจฺเจกจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าอัจเจกจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอัจเจกจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายผ้าป่า
อิมานิ มยํ ภนฺเต, ปํสุกูลจีวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โฮโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อ ประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายผ้ากฐิน (แบบ ๑)
อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, (ว่า ๓ จบ)
คำแปล
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้ แก่พระสงฆ์ ฯ

คำถวายผ้ากฐิน (แบบ ๒)
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน, ินํ, อตฺถรตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวาร นี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้วจงกราน กฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายธูปเทียนดอกไม้เพื่อบูชา
อิมานิ มยํ ภนฺเต, ทีปธูปปุปฺผวรานิ, รตนตฺตยสฺเสว, อภิปูเชม, อมฺหากํ, รตนตฺตยสฺส ปูชา, ทีฆรตฺตํ, หิตสุขาวหา, โหตุ, อาสวกฺขยปฺปตฺติยา.
คำแปล
ข้า แต่พระคุณเจ้าทั้งหลายผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาธูปเทียนและดอกไม้ อันประเสริฐเหล่านี้ แก่พระรัตนตรัย กิริยาที่บูชาแก่พระรัตนตรัยนี้ จงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน จงเป็นไปเพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพาน เป็นที่สิ้นไป แห่งอาสวกิเลส เทอญ ฯ

คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป
มยํ อิมินา ปทีเปน, อสุกาย, นมฺมทาย, นทิยา, ปุลิเนิตํ, มุนิโน, ปาทวลญฺชํ, อภิปูเชม, อยํ, ปทีเปน, มุนิโน ปาทวลญฺชสฺส, ปูชา, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.
คำแปล
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งรอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทราย ในแม่น้ำ ชื่อนัมมทานทีโน้น ด้วยประทีปนี้, กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาท ด้วยประทีปนี้ ขอจงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายธงเพื่อบูชา
มยํ อิมินา, ธชปฏาเกน, รตนตฺตยํ, อภิปูเชม, อยํ ธชปฏาเกน, รตนตฺตยปูชา, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.
คำแปล
ข้าพเจ้า ทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งพระรัตนตรัย ด้วยธงแผ่นผ้านี้ กิริยาที่บูชาพระรัตนตรัย ด้วยธงแผ่นผ้านี้ ขอจงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายเวจกุฎี
มยํ ภนฺเต, อิมํ วจฺจกุฏึ, อาคตานาคตสฺส, จาตุทฺทิสสฺส, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ อิมํ, วจฺจกุฏึ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเวจกุฎีหลังนี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี ยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับเวจกุฎีหลังนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายสะพาน
มยํ ภนฺเต, อิมํ, เสตุํ, มหาชนานํ, สาธารณตฺถาย, นิยฺยาเทม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมสฺมึ, เสตุมฺหิ, นิยฺยาทิเต, สกฺขิโก โหตุ, อิทํ, เสตุทานํ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอมอบถวาย ซึ่งสะพานนี้ เพื่อประโยชน์ ทั่วไป แก่มหาชนทั้งหลาย ขอพระสงฆ์จงเป็นพยาน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ในสะพานที่ ข้าพเจ้าทั้งหลายได้มอบให้แล้วนี้ ขอเสตุทานนี้ จงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้า ทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

ความหมาย

     พิธีกรรม ที่จะกล่าวในบทนี้เป็นพิธีเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติบางประการ ในการ ประกอบพิธีต่าง ๆ ที่กล่าวแล้วในหมวดต้น ๆ มาชี้แจงเพื่อความรู้ และเพื่อเป็นทางปฏิบัติ แต่จะกล่าวเฉพาะเรื่องที่มิได้ชี้แจงไว้ข้างต้นเพียง ๕ เรื่องเท่านั้น คือ
     ๑. วิธีแสดงความเคารพพระ
     ๒. วิธีประเคนของพระ
     ๓. วิธีทำหนังสืออาราธนา และทำใบปวารณาถวายจตุปัจจัย
     ๔. วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาธรรม
     ๕. วิธีกรวดน้ำ
จะได้แสดงวิธีปฏิบัติต่อไปตามลำดับ

งานอุปสมบท

งานบวชพระ

โครงการอุปสมบทหมู่ บวชฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย มีหลายรุ่นให้เลือกบวช

ครั้งหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชายต้องบวชให้ได้อย่างน้อย 1 พรรษา
 
 
 
งานบวชพระ  
การบวช เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตลูกผู้ชาย

งานบวช ประเพณีงานบวช

     บวช คืออะไร คำว่า "บวช" เป็นภาษาไทย ซึ่งถอดรูปมาจากคำในภาษาบาลีว่าปพฺพชฺชา ส่วนคำว่า "ปพฺพชฺชา" นั้น มีรากศัพท์ คือ ป + วช : "ป" แปลว่า ทั่วหรือสิ้นเชิง "วช" แปลว่า ไป หรือเว้น คำว่า บวช จึงแปลว่า ไปโดยสิ้นเชิง หรือ การเว้นโดยสิ้นเชิง คำว่า "ไปโดยสิ้นเชิง" นั้นหมายถึง ไปจากความเป็นฆราวาส คือ ไปจากการครองเรือนไปสู่ความเป็นบรรพชิต คือ ผู้ไม่ครองเรือนโดยสิ้นเชิงนั่นเอง

   งานบวช เป็นประเพณีไทยสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ชายไทยเมื่ออายุครบบวช จะต้องบวชให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสืบทอดอายุพระพุทธสาสนา สร้างกุศลอันยิ่งใหญ่ให้ตนเองและบิดามารดารวมทั้งหมู่ญาติ การมีโอกาสได้เป็นนักบวช ดำรงเพศสมณะผุ้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเอง เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก็สามารถค้นหาแหล่งความสุขที่แท้จริง ศึกษาเรื่องราวความจริงของชีวิต เป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ ว่าเกิดมาทำไม ตายแล้วไปไหน บาปบุญคุณโทษ นรกสวรรค์ ภพนี้ภพหน้า และสังสารวัฏ ซึ่งเป็นความรู้ที่มีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาที่ทนทานต่อการพิสูจน์

      ผู้ที่มาบวช ถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีบุญมาก เพราะเพศสมณะใช่ว่าใครจะมาอยู่ได้ง่ายๆ ต้องสั่มสมบุญกันมาข้ามภพ ข้ามชาติ เมื่อบารมีมาก ขึ้นก็มีโอกาสมาบวชใน บวรพุทธศาสนา ดูอย่างในสมัยพุทธกาลเป็นต้นแบบ ผู้ที่จะมาบวชไม่ได้ผู้ด้อยโอกาส แต่เป็นผู้ที่มาจากหลากหลายตระกูล ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะเห็นโทษภัยในการครองเรือนในวัฏฏสงสาร จึงมาออกบวช หลายท่านมาจากตระกูลขัตติยะก็มี แพศย์ก็มี ศูทรก็มี การที่ตระกูลกษัตริย์ พราหมณ์และมหาเศรษฐีต่างเข้ามาบวช ก็แสดงว่าการบวชไม่ใช่เรื่องธรรมดา ไม่ใช่เรื่องของผู้ด้อยโอกาส แต่เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวด
 
 
บวชพระบุญใหญ่ของชีวิต
 
 บวชพระทดแทนคุณบิดรมารดา

     การบวชจะเป็นการช่วยทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา และมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยของเราเป็นดินแดนแห่งสันติสุขอันเกิดจาก พุทธธรรม อีกทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่ผู้บวชทุกท่าน จะได้ฝึกฝนอบรมตนเอง เพื่อให้เป็นพระแท้ตามพระธรรมวินัย เปี่ยมด้วยศีล สมาธิ(Meditation)(Meditation) และปัญญา ซึ่งถือเป็นการใช้วันเวลาอย่างคุ้มค่าและมีความหมายต่อการเกิดมาเป็นมนุษย์ อย่างยิ่ง ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เคยตรัสไว้ว่า "ชีวิตเพียงวันเดียวของผู้มีศีล มีสมาธิ ยังประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี ของผู้ทุศีล ไร้สมาธิ"


อานิสงส์ของการบวช

 
1. เป็นผู้รู้จักบริหารเวลา คือรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เรียกว่า ความเป็นผู้รู้กาล ซึ่งเป็นคุณธรรมข้อหนึ่งที่ทำให้เป็นสัปบุรุษ

2. แม้ช่วงเวลาจะสั้น แต่ถ้าลงปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะได้รับความสุขสงบจากการบำเพ็ญสมณะธรรม

3. มีโอกาสได้ศึกษาหลักธรรม ซึ่งนำไปใช้ควบคู่กับความรู้ทางโลก ให้ได้ใช้ความรู้ ในทางที่ถูกที่ควร
4. ได้ฝึกวินัยและเข้าใจวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ถ้าตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเองอย่างจริงจัง ต่อไปจะเป็นคนรักระเบียบวินัย
 
5. ได้ฝึกสมาธิ ทำจิตให้สงบ ซึ่งเป็นผลดีต่อการเรียนและการทำงานต่างๆ
 
6.  เกิดความปลื้มปีติยินดีที่ได้ทำความดี ซึ่งความปีตินี้เองที่จะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหัวใจอยู่เสมอ
7. ทำให้มีความอดทน ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆ

8. ทำให้รู้จักตนเอง คือรู้ว่าตนเองมีความรู้ความสามารถคุณธรรมแค่ไหน เพียงใด เพื่อที่จะได้พัฒนาปรับปรุง ตนเองให้ดียิ่งขึ้น

9.ได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มถากถางหนทางไปพระนิพพาน

10. ผู้บวชย่อมได้โอกาสในการสั่งสมเนกขัมมบารมี (คือบารมีที่เกิดจากการออกบวช) ตามรอยบาท พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
11. ผู้บวชย่อมได้บุญใหญ่ที่จะช่วยปิดอบาย เปิดหนทางสวรรค์และพระนิพพาน ติดตัวไปยาวนาน ถึง 64 กัป
 
12. ผู้บวชและ ผู้สนับสนุนการบวชย่อมได้อานิสงส์ (ผลที่ได้จากการทำความดี) คือ เป็นผู้มีปัญญา มีสัมมาทิฐิ สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์และอริยทรัพย์ และได้เกิดในดินแดนที่มีพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ไปนับภพนับชาติไม่ถ้วน
13. สังคมและประเทศชาติเกิดความสงบสุข ร่มเย็น ผ่านพ้นปัญหาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้อย่างเป็นอัศจรรย์

14.  สร้างผู้นำทางศีลธรรมให้เกิดขึ้นทั่วแผ่นดินไทย จะได้ช่วยกันสืบทอดอายุพระพุทธศาลนาให้อยู่คู่ชาติไทยและโลกใบนี้ไปตราบนานเท่านาน

15. สร้างความสมัครสมานสามัคคีให้เกิดขึ้นแก่พุทธบริษัท 4 ทั้งแผ่นดินไทย เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีบทบาทในการฟื้นฟูศีลธรรม และพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืนสืบไป
 

บุญพิธี

หน้าแรก : หมวดศาสนพิธี
พิธีกรรมทางศาสนา
พิธีกรรมทางพุทธศาสนาแยกไว้เป็น ๔ หมวด คือ
๑. หมวดกุศลพิธี : ว่าด้วยพิธีบำเพ็ญกุศล ๓. หมวดทานพิธี : ว่าด้วยพิธีถวายทาน
๒. หมวดบุญพิธี : ว่าด้วยพิธีทำบุญ ๔. หมวดปกิณณกะ : ว่าด้วยพิธีเบ็ดเตล็ด

บุญพิธี คือพิธีทำบุญ ให้เกิดความสุขความสบายใจ เกี่ยวกับเรื่องฉลองบ้าง เรื่องต้องการสิริมงคลบ้าง เรื่องตายบ้าง โดยแยกเป็น ๒ ประเภท คือ :-
      ๑. ทำบุญงานมงคล
      ๒. ทำบุญงานอวมงคล

บุญพิธีทั้ง ๒ ประเภทนี้ นิยมการนิมนต์พระให้สวด เลี้ยงพระและถวายไทยธรรม ฉะนั้น จึงมีผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติ เป็น ๒ ฝ่าย คือ
      ๑. ผู้ทำบุญ เรียกว่า "เจ้าภาพ" เป็นฝ่ายให้.
      ๒. ผู้ประกอบพิธีกรรม เรียกว่า "ฝ่ายภิกษุสงฆ์" เป็นฝ่ายรับ
      ดังนั้น จึงต้องมีระเบียบพิธีตามสมควรแก่ประเภทนั้น ๆ ต่อไปนี้ :-

ทำบุญงานมงคล

ฝ่ายเจ้าภาพต้องเตรียมการต่าง ๆ ดังนี้

      ๑. อาราธนาพระสงฆ์ นิยมคี่ คือ ๕-๗-๙, ถ้าแต่งงาน นิยมคู่ คือ ๘, พิธีหลวงนิยมคู่ คือ ๑๐ รูป เป็นต้น.

      ๒. เตรียมที่ตั้งพระพุทธรูป พร้อมทั้งเครื่องบูชา ควรใช้โต๊ะหมู่ ๕-๗-๙ ถ้าหาไม่ได้ก็ใช้โต๊ะอื่นที่สมควรก็ได้ ควรปูผ้าขาว หรือผ้าสี ที่สะอาด ยังไม่เคยใช้เป็นดีที่สุด อย่าเอาผ้าที่นุ่งห่มแล้วปูโต๊ะบูชาเป็น อันขาด.

      ของบนโต๊ะบูชา คือ พระพุทธรูป ๑ กระถางรูป ๑ เชิงเทียน ๒ แจกันดอกไม้บูชา ๒ จะเพื่ออะไรที่สมควรให้มากไปกว่านี้ก็ได้. จะตั้งพระพุทธรูป ควรให้อยู่ทางขวาของพระสงฆ์ หันพระพักตร์ไปทิศเดียวกับพระสงฆ์หันหน้าไป. แต่ถ้าที่ไม่อำนวย ก็จัดตามความเหมาะสม.

      ๓. ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี ต้องให้สะอาดเรียบร้อย ดูแลงามตา ชื่นใจ เป็นสิริมงคล.

      ๔. วงด้ายสายสิญจน์. สิญจน์ แปลว่า "รดน้ำ" สายสิญจน์ คือสายด้ายดิบ จับให้เป็น ๓ เส้น แล้วจับให้เป็น ๙ เส้น.
การวงสายสิญจน์ โยงจากฐานพระพุทธรูป วนขวารอบพระพุทธรูป โยงมาที่หม้อน้ำมนต์ วนขวาที่หม้อ
วางไว้ในพาน ตั้งใกล้อาสนะพระเถระผู้เป็นประธานในพิธี. (ห้ามข้ามสายสิญจน์)

      ๕. เชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนโต๊ะบูชา ควรสรงน้ำพระพุทธรูปให้หมดฝุ่นมลทินที่อาจติดอยู่ แล้วเชิญขึ้นตั้งบนโต๊ะที่เตรียมไว้ แล้วกราบงาม ๓ ครั้ง.

      ๖. ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ จะยกพื้นให้สูงขึ้นขนาดเก้าอี้หรือไม่ยกพื้น เพียงแต่ปูเสื่อ ปูผ้าขาว แล้วปูผ้านิสีทนะ (ผ้ารองนั่งของพระ) แล้วแต่ความเหมาะสม. ต้องให้ที่พระนั่งสูงกว่าที่นั่งของคฤหัสถ์ ถ้าเสมอกัน ต้องแยก อย่าให้ติดกัน.

      ๗. เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ คือ หมากพลู น้ำเย็น น้ำร้อนและกระโถน วางไว้ด้านขวาของพระทุกรูป (พานหมากพลู กระโถนวางระหว่างกลาง ๒ รูปต่อ ๑ ชุดก็ได้) การวาง ให้วางกระโถนข้างในสุด ถัดออกมา ภาชนะน้ำเย็น, ถัดออกมา พานหมากพลู. น้ำร้อนจัด ประเคนภายหลัง.

      ๘. ตั้งภาชนะทำน้ำพุทธมนต์ ใช้หม้อน้ำมนต์มีฝาครอบ เรียกว่า "ครอบน้ำมนต์") หรือบาตร หรือขันทองเหลือง (เว้นขันเงิน-ทองคำ) มีพานรอง น้ำที่ใช้ทำน้ำพุทธมนต์ นิยมน้ำที่ได้มาจากดิน(ไม่นิยมน้ำฝน) ใส่ประมาณค่อยภาชนะ เทียนทำน้ำพุทธมนต์ ใช้เทียนขี้ผึ้งแท้ขนาดหนัก ๑ บาทอย่างต่ำ เตรียมตั้งไว้หน้าโต๊ะบูชา เยื้องมาให้ใกล้พระสงฆ์องค์ที่ ๑

      ๙. การจุดเทียน - ธูป เมื่อเริ่มพิธี เจ้าภาพควรจุดเทียน - ธูปเอง. (อย่าต่อไฟจากตะเกียงหรือจากที่อื่น) ตั้งใจบูชาพระ. อาราธาศีล รับศีล อาราธนาพระปริตร.
      พระสวดถึงบทว่า "อเสวนา จ พาลาน" เป็นต้น เจ้าภาพจุดเทียนที่ครอบน้ำมนต์ แล้วยกครอบประเคนพระองค์ที่ ๑.

      ๑๐. ข้อปฏิบัติวันเลี้ยงพระ ถ้าสวดและฉันเช้าหรือฉันเพลด้วยหากมีการตักบาตร พอพระสวดถึงบทว่า "พาหุ" ก็เริ่มตักบาตรแล้วยกบาตรและภัตตาหารมาตั้งไว้ใกล้พระ พอสวดจบ ก็ประเคนให้พระฉันทันที. ถ้าสวดตอนเย็นเลี้ยงพระในวันรุ่งขึ้น. ก็ต้องเตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์เหมือนวันสวนมนต์เย็น. อาราธนาศีล รับศีล. ไม่ต้องอาราธนาพระปริตร.
      พระสวดถวายพรพระ (นโม, อิติปิ โส, พาหุ) พอถึงบท พาหุ ก็เริ่มตักบาตร. . .

      ๑๑. สุดท้าย พอพระฉันเสร็จ เจ้าภาพถวายไทยธรรม. พระสงฆ์อนุโมทนา
      เริ่มคำว่า ยถา. . . เจ้าภาพกรวดน้ำ.
      พอพระว่าพร้อมกันว่า สพฺพีติโย. . . เจ้าภาพกรวดน้ำให้หมด
      ประนมมือรับพรจน พระสวนจบ แล้วกราบ ๓ ครั้ง ส่งพระกลับ.

อนึ่ง ในพิธีทำบุญเลี้ยงพระ นิยมถวายข้าวพระพุทธ คือจัดภัตตาหารทุกอย่าง เหมือนที่ถวายพระสงฆ์ แต่ใช้ภาชนะเล็กกว่า วางบนโต๊ะ หรือบนผ้าขาวสะอาด หน้าโต๊ะบูชา จุดธูป ๓ ดอกปักในกระถางธูปหน้าพระ นั่งคุกเข่า ประนมมือว่า นโม. . .๓ จบ แล้วว่า
      อิม สูปพฺยญฺชนสมฺปนฺน สาลีน (ถ้าไม่มีข้าวสาลี ก็ตัดบทว่า สาลีนออกได้) โอทน อุทก วร พุทฺธสฺส ปูเชมิ.

      เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จ เจ้าภาพกราบพระพุทธ ๓ ครั้ง ประนมมือกล่าวคำลาข้าวพระว่า
      เสส มงฺคล ยาจามิ.

      กราบแล้วยกภาชนะข้าวพระพุทธออกไป. (จะให้ผู้อื่นลาข้าวพระก็ได้)


ฝ่ายพระสงฆ์

      พระสงฆ์ควรปฏิบัติการต่อไปนี้ :-
      ๑. ควรเตรียมตัวไว้ให้พร้อมก่อนถึงเวลา พอมีคนมารับก็ไปได้ทันที. ควรไปตามกำหนด อย่าให้ก่อนมากนัก อย่าให้กระชั้นนัก ต้องมีกาลัญญุตา

      ๒. ต้องนุ่งห่มเรียบร้อยเป็นสมณสารูป. ในถิ่นที่นิยมใช้พัด ควรนำไปทุกรูป และควรใช้พัดงานมงคล (ห้ามใช้พัดงานศพ ในงานมงคล)ถ้าขัดข้องก็ใช้พัดเฉพาะหัวหน้าองค์เดียวก็ได้. พัดนั้นใช้ในเวลา ๑. ให้ศีล ๒. ขัดตำนาน ๓. อนุโมทนา ๔. ชักผ้าบังสุกุล.

      ๓. ขณะขึ้นนั่งบนอาสนะ อย่าเหยียบผ้าขาวที่ปูไว้ ควรคุกเข่าเดินเข่าไปยังที่นั่ง, ย่ามต้องถือด้วยมือซ้ายรวมกันพัด (อย่าเอาย่ามคล้อง แขน ตั้งแต่เข้าบ้าน จนออกไป) วางพัดด้านขวามือ.

      ๔. พอเจ้าภาพอาราธนาศีล ผู้หัวหน้าคลี่สายสิญจน์ส่งต่อไปปลายแถว, พออาราธนาถึงวาระที่ ๓ ว่า ตติยมฺปิ . . . ผู้หัวหน้าตั้งพัดด้วยมือขวา ถัดใบพัดลงมา ๔-๕ นิ้ว หัวแม่มือทาบตรงขึ้นตามด้ามพัดสายสิญจน์พาดบนนิ้วชี้ พอจบคำอาราธนา ก็ตั้ง นโม. . . ให้สรณะ และศีล. ไม่ต้องว่า "ติสรณคมน นิฏฺิต)

      ๕. พอเจ้าภาพอาราธนาพระปริตรถึงครั้งที่ ๓ พระผู้มีขัดตำนาน(รูปที่ ๓) ตั้งพัดเตรียมขัด พออาราธนาจบ ก็เริ่มขัด สมนฺตา. . .ทันที. พอขัดจบ ทุกรูปยกสายสิญจน์ประนมมือ ให้สายสิญจน์อยู่ระหว่างง่ามแม่มือ. หัวหน้านำสวด ตั้งแต่ นโม. . . พอสวดถึงบทว่า เยสุปฺปยุตฺตา. . . ปลดเทียนน้ำมนต์ หยดเทียนลงในน้ำ พอถึงบทว่านิพฺพนฺติ ธีตา ยถา ยมฺปทีโป ก็จุ่มเทียนลงในน้ำมนต์และยกขึ้น (นิพฺ จุ่มลง. . .ปทีโป ยกขึ้น)

      ๖. การพรมน้ำพระพุทธมนต์ นิยมใช้หญ้าคามัดเป็นกำ, หรือก้านระยม ๗ ก้าน มัดติดกัน. พรมแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าภาพที่ต้องการให้พรม หรือพรมแก่สถานที่ ซึ่งเจ้าภาพต้องการ. (พระสงฆ์สวดบทว่าชยนฺโต. . .ในขณะพรม.) ถ้าเดินพรมแก่บุคคลหรือสถานที่ ควรถือพัดไปด้วย.

[กลับขึ้นบน]
ทำบุญงานอวมงคล
การทำบุญงานอวมงคล หมายถึง การทำบุญเกี่ยวกับเรื่องการตาย มี ๒ อย่าง คือ :-
      ก. งานทำบุญหน้าศพ
          ที่เรียกว่า "ทำบุญ ๗ วัน" . .๕๐ วัน . . ๑๐๐ วัน หรือ ทำบุญหน้าวันปลงศพ.
      ข. งานทำบุญอัฐิ
          ที่ปรารภบรรพบุรุษ หรือผู้ใดผู้หนึ่งที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นงานประจำปี เช่น วันสงกรานต์ (เดือน ๕),
          วันสารท(เดือน ๑๐) หรือวันคล้ายกันวันตายของผู้นั้น ๆ.

ก. งานทำบุญหน้าศพ
      พิธีฝ่ายเจ้าภาพ
      ต้องเตรียมการต่าง ๆ ส่วนใหญ่คล้ายกับงานทำบุญมงคล แต่มีข้อแตกต่าง คือ :-
      ๑. อาราธนาพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ นิยมคู่ คือ ๘ รูป ๑๐ รูป เป็นต้น แล้วแต่กรณี. ใช้คำอาราธนาว่า "ขออาราธนาสวดพระพุทธมนต์" (งานมงคลใช้คำว่า "ขออาราธนาเจริญพระพุทธมนต์")

      ๒. ไม่ตั้งภาชนะน้ำพุทธมนต์ ไม่วงสายสิญจน์ คือไม่ต้องทำน้ำพระพุทธมนต์.

      ๓. เตรียมสายโยงหรือภูษาโยงต่อจากศพไว้ สายโยง คือด้วยสายสิญจน์นั่นเอง.
      ภูษาโยง คือ แผ่นผ้า กว้างประมาณ ๔ นิ้ว ยาวให้พอตั้งแต่พระองค์ต้นแถว ถึงองค์ปลายแถว และต้องมีสายโยงจากศพมาเชื่อมกับภูษาโยงอีก. ระวังการเดินสายโยง อย่าให้สูงกว่าพระพุทธรูปในพิธี และอย่าให้ต่ำกว่าที่คนนั่ง อย่าข้ามสายโยงหรือภูษาโยง เพราะต่อเนื่องด้วยศพ สำหรับพระจับบังสุกุล.
      การปฏิบัติกิจในพิธี เมื่อพระสงฆ์ประจำที่พร้อมแล้ว เจ้าภาพจุดธูปเทียนที่บูชาพระพุทธรูปก่อน จุดธูปเทียนที่หน้าศพภายหลัง. (แต่ บางท่านว่า จุดที่หน้าศพก่อน จุดที่หน้าพระทีหลัง)
      ถ้ามีการเลี้ยงพระด้วย พอพระฉันเสร็จ เจ้าภาพถวายไทยธรรมแล้วคลี่สายโยง ถ้ามีผ้าสบง จีวร เป็นต้น ก็ทอดลงบนสายโยง แล้วนั่งประจำที่ พอพระชักบังสุกุล ก็ประนมมือไหว้. เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายต่อไป.

      พิธีฝ่ายพระสงฆ์
      เตรียมตัวและปฏิบัติการส่วนใหญ่ก็เหมือนงานทำบุญมงคล แต่มีข้อแตกต่าง คือ :-
      ๑. ใช้พัดที่เกี่ยวกับงานศพ. (ถ้าไม่มี จะใช้พัดงานอื่นก็ได้).

      ๒. ทำบุญงานศพ ๗ วัน สวดอนัตตลักขณสูตร.
          ทำบุญงานศพ ๕๐ วัน สวดอาทิตตปริยายสูตร.
          ทำบุญงานศพ ๑๐๐ วัน สวดธรรมนิยามสูตร.
          นอกจาก ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน สวดสูตรใดก็ได้ (เว้นเจ็ดตำนาน, สิบสองตำนาน, ธรรมจักร, มหาสมัย).

      ๓. ไม่ต้องขัด สมนฺตา. . . สคฺเค. . . มีลำดับสวดคือ :- นโม. . .พุทฺธ. . . ยกปิ เสลา . . . (องค์ที่ ๓ ขัด ตั้งพัด ขัดบทขัดของสูตรที่ต้องการ) ทุกรูปสวดพระสูตรที่ต้องการ จบพระสูตรแล้ว ต่อด้วย อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา. . . ยทา หเว . . . อตีต นานฺวาคเมยฺย. . . ถ้าสวดธรรมนิยามสูตร จบแล้ว ต่อด้วย สพฺเพ สงฺขารา. . .แล้ว ต่อด้วย อวิชฺชา. . .

      ๔. ถ้างานวันเดียว มีเทศน์ด้วย เลี้ยงพระด้วย สวด อตีต นานฺวาคเมยฺย. . . จบแล้ว เทศน์. เทศน์จบแล้ว สวดถวายพรพระ (อิติปิ โส . . .พาหุ. . .ชยนฺโต. . .) ภวตุ สพฺพมงฺคล. . .

      ๕. ถ้าเพียงแต่สวดมนต์ บังสุกุล รับไทยธรรมแล้ว อนุโมทนาด้วยบท อทาสิ เม. . .

      ๖. การชักบังสุกุล ต้องจับพัดมือซ้าย, จับสายโยงมือขวา สอดสีนิ้วใต้สาย หัวแม่มือจับบนสาย, ถ้ามีผ้าทอดบนสายโยง ก็จับผ้าโดยวิธีเดียวกัน. ลั่นวาจาว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา. . .

ข. งานทำบุญอัฐิ
      พิธีฝ่ายเจ้าภาพ
      พึงเตรียมงานส่วนใหญ่คล้ายกับงานทำบุญหน้าศพ. เพียงแต่ตั้งโกศอัฐิ หรือรูป หรือชื่อของผู้ตายบนโต๊ะ ต่างหากจากโต๊ะบูชาพระ จัดดอกไม้ประดับ ตั้งกระถางธูป เชิงเทียน ๑ คู่ หรือใช้กระบะเครื่องห้าแทนกระถางธูปเชิงเทียนก็ได้.

      พิธีฝ่ายพระสงฆ์
      ส่วนใหญ่ก็เช่นเดียวกับงานทำบุญหน้าศพ. เพียงแต่บทสวด นิยมสวด ธรรมนิยามสูตร สติปัฏฐานปาฐะ เป็นต้น.

การจัดโต๊ะหมู่บูชา

  ศาสนพิธี สำหรับ พุทธศาสนิกชน : การจัดโต๊ะหมู่บูชา
  เรื่อง : การจัดโต๊ะหมู่บูชา

   การจัดโต๊ะหมู่บูชา ควรให้ตั้งอยู่ในมุมที่เหมาะสม และอยู่ในที่สูงพอสมควร การเรียงลำดับ
 พระให้ถือหลักดังนี้ คือ พระบรมสารีริกธาตุ หรือพระพุทธรูป ให้ตั้งไว้สูงสุด รองลงมาก็เป็น
 รูปของพระอริยสงฆ์ ลดหลั่นกันลงมา ตามลำดับอาวุโส ถ้าเป็นรูปบูชาอย่างอื่น เช่น เจ้าแม่
 กวนอิม หรือ พระรูป ร. 5 ควรแยกหิ้งบูชาไว้ต่างหากแต่จะต้องไม่สูงกว่าพระพุทธรูป

    

   ทิศทางของการตั้งโต๊ะหมู่บูชา ตามตำราโบราณ ได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้
 
   ๑. ถ้าตั้งพระพักตร์หันไปสู่ ทิศอีสาน ซึ่งเป็นทิศเศรษฐี จะประกอบการงานทำนาค้าขาย
 ใดๆ ก็จะเจริญรำรวยยิ่งๆ เป็นที่หหนึ่ง
 
   ๒. ถ้าตั้งพระพักตร์หันไปสู่ ทิศบูรพา ซึ่งเป็นทิศราชา จะประกอบการงานใดๆ ก็จะเจริญ
 ใหญ่โต สมความตั้งใจทุกประการ
 
   ๓. ถ้าตั้งพระพักตร์หันไปสู่ ทิศอาคเณย์ ซึ่งเป็นทิศปฐม ท่านว่าไม่สู้ดี ทำอะไรไม่ค่อยเจริญ
 ลาภผลตกต่ำพอมีพอใช้
 
   ๔. ถ้าตั้งพระพักตร์หันไปสู่ ทิศทักษิณ ซึ่งเป็นทิศจัณฑาล ประกอบการงานอันใด แสนยาก
 ลำบาก ผลประโยชน์ลงทุนไปไม่ค่อยคุ้มค่า
 
   ๕. ถ้าตั้งพระพักตร์หันไปสู่ ทิศหรดี ซึ่งเป็นทิศวิปะฏิสาร จะประกอบการงานอันใด มีแต่
 ความเดือดร้อนยุ่งยากมาสู่คครอบครัว ตลอดเพื่อบ้านเรือนเคียง
 
   ๖. ถ้าตั้งพระพักตร์หันไปสู่ ทิศประจิม เป็นทิศกาฬกิณี จะทำงานสิ่งใดก็เกิดลังงเลใจ ไม่
 เป็นมงคล ระวังภัยจะเกิดกับตนร้ายแรงถึงอัตตะวินิบาตกรรม ด้วยประการต่างๆ ไม่ดีเลย
 
   ๗. ถ้าตั้งพระพักตร์หันไปสู่ ทิศพายัพ ซึ่งเป็นทิศอุทธัจจะ จะทำงานสิ่งใด ผลงานก็ไม่แน่
 นอนจับจดรวนเรไม่ได้ผล
 
   ๘. ถ้าตั้งพระพักตร์หันไปสู่ ทิศอุดร ซึ่งเป็นทิศมัชฌิมาปะฏิปทา จะทำงานใดๆ ของผล
 งานจะอยู่ในเกณฑ์พอปานกลางไม่ดีไม่ชั่ว
 
   สำหรับผู้ที่มีที่อันจำกัด ไม่สามารถจัดที่บูชาพระได้ตามตำรา ท่านก็ไม่ต้องกังวลใจขอแต่
 เพียงให้จัดที่บูชาพระ ในจุดที่เหมาะสม และอยู่ในระดับสูงพอสมควรเท่านั้น
 
   เครื่องบูชา แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ
 ๑. อามิสบูชา ได้แก่การบูชาด้วยอามิส มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น
 ๒. ปฏิบัติบูชา ได้แก่ การบูชาด้วยการเจริญสมาธิวิปัสสนา
 ในบรรดาการบูชาทั้ง ๒ แบบนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า การปฏิบัติบูชา ถือว่าเป็นเยี่ยม.

ทานพิธี๒

  ศาสนพิธี สำหรับ พุทธศาสนิกชน : บุญ
  เรื่อง : ทานพิธี ๒

 ๖. คำถวายสังฆทานประเภทมะตะกะภัตต์อุทิศให้ผู้ตาย ว่าดังนี้ อิมานิ มะยัง ภันเต มะตะกะ
 ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ มะตะกะ
 ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ญาตะกานัง กาละ
 กะตานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
 
   คำแปล ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายซึ่ง มะตะกะภัตตาหาร กับทั้ง
 ของบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย
 แก่ญาติทั้งหลาย มีบิดา - มารดา ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ เหล่านั้นเป็นต้น ผู้ทำกาละล่วงไป
 แล้วสิ้นกาลนานเทอญฯ
 
 ๗. สลากภัตต์ การมีพิธีต่างๆ กันตามท้องที่นั้นๆ บางแห่งก็ต่างคนต่างถวายผลไม้ และภัตตา-
 หารนั้นๆ บางแห่งก็ต่างคนก็ถวายผลไม้และภัตตาหารรวมกันแล้ว มีผู้นำกล่าวคำถวายว่าพร้อม
 กัน แบ่งถวายอาหารโดยส่วนเฉลี่ยสงฆ์เท่าๆ กัน พระที่ฉันรวมกัน แต่บางแห่งต่างคนต่างจัด
 สำรับคาวหวานและผลไม้ ต่างแยกกันถวายเฉพาะของตน ถ้าจับฉลากได้เลขที่เท่าไหร่ ก็จัด ณ
 สถานที่นั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ๆ ปักสลากไว้ ถ้าพระน้อย เจ้าภาพมาก ก็รวมกันหลายคนต่อ ๑ สลาก
 ฝ่ายพระเณร ก็จับสลากด้วยเหมือนกัน ใครจับสลากได้เลขที่เท่าไหร่ ก็ไปนั่งประจำที่นั่นตาม
 หมายเลขของตน เมื่อพร้อมแล้วก็กล่าวคำถวายพร้อมกันก็มี แยกกันกล่าวคำถวายเฉพาะของ
 คณะตนก็มี แต่โดยมากรวมถวายพร้อมกัน พระสงฆ์ท่านก็อนุโมทนาพร้อมกัน ถ้าแยกกันถวาย
 ท่านก็จะแยกกันอนุโมทนาเช่นเดียวกัน ตามพิธีนี้แม้จะยุ่งยากอยู่บ้าง แต่ก็ตรงตามความหมาย
 คำว่าสลากภัตต์และเป็นการสนุกสนานของคณะเจ้าภาพด้วย เพราะเป็นการประกวดประขันกัน
 ในตัวและเชื่อว่าเป็นสังฆทานโดยแท้ เพราะเจ้าภาพก็ไม่รู้จักพระเณร พระเณรก็ไม่รู้จักเจ้าภาพ
 มาก่อน รู้กันก็ต่อเมื่อพระมานั่งตรงสลากของตน ใครชอบพิธีไหนก็เลือกทำพิธีนั้น
 
   การถวายสลากภัตต์นี้ โดยมากแล้วจะทำการจัดที่วัดเพราะจำเป็นต้องใช้บริเวณกว้างๆ พระไป
 นั่งฉันตามโคนต้นไม้ ข้างศาลาบ้าง บางรายเจ้าภาพจัดทำปะรำพิธีชั่วคราวขึ้น หรือใช้เต๊นท์ร่ม
 กางกั้น ที่รู้สึกสนุกตอนพระและเณรเที่ยวเดินหาสลากของท่านตามหมายเลขไม่ค่อยพบได้ง่าย
 นัก เพราะเจ้าภาพซิกแซกนิดหน่อย
 
   คำถวายสลากภัตต์ถวายรวมกัน ว่าดังนี้
   เอตานิ มะยัง ภันเต สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ อะสุกัฎฐาเน ฐะปิตานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณ
 ชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ เอตานิ สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหา
 กัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
 
   คำแปล
   ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งสลากภัตต์กับภัตตาหารและของ
 บริวารเหล่านี้ อันตั้งไว้แล้วในที่โน้น แต่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ซึ่งสลากภัตต์
 กับทั้งของบริวารเหล่านั้น ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้ง
 หลาย สิ้นกาลนานเทอญ
 
   ถ้าแยกกันถวาย คำว่า เอตานิ เปลี่ยนเป็น อิมานิ และคำว่า อะสุกัฏฐาเน เปลี่ยนเป็น อิธะ ฐาเน
 นอกนั้นคงเดิม