วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

งานบำเพ็ญกุศลศพ (อวมงคล)

ทำบุญงานอวมงคล


ทำบุญงานอวมงคล
     การ ทำบุญงานอวมงคล หมายถึง การทำบุญเกี่ยวกับเรื่องการตายดังกล่าวแล้ว นิยมทำกันอยู่ ๒ อย่างคือ ทำบุญหน้าศพ ที่เรียกกันว่าทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพ อย่างหนึ่ง ทำบุญอัฐิหรือทำบุญปรารภการตาย ของบรรพบุรุษ หรือผู้ใดผู้หนึ่ง ในวันคล้ายกับวันตายของท่านผู้ล่วงลับไปแล้วอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่างนี้ มีระเบียบ ที่จะพึงปฏิบัติ ดังนี้
       ก. งานทำบุญหน้าศพ
     พิธี ฝ่ายเจ้าภาพ ในงานทำบุญหน้าศพ มีกิจกรรมที่ควรตระเตียมไว้เป็น เบื้องต้น ส่วนใหญ่คล้ายกับงานทำบุญมงคล แต่มีข้อแตกต่างอยู่บางประการ คือ
     ๑. อาราธนาพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ มีจำนวนนิยม ๘ รูป หรือ ๑๐ หรือกว่า นั้นขึ้นไป แล้วแต่กรณี ในเรื่องอาราธนาพระสงฆ์สำหรับทำบุญงานอวมงคล ไม่ใช้คำอาราธนาว่า ่ขออาราธนาเจริญพระพุทธมนต์เหมือนอย่างทำบุญงานมงคล แต่ใช้คำอราธนาว่า ขออราธนา สวดพระพุทธมนต์
     ๒. ไม่ตั้งน้ำวงด้าย หมายความว่า ไม่ต้องตั้งภาชนะน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ และไม่มี การวงด้ายสายสิญจน์
     ๓. เตียมสายโยงหรือภูษาโยงต่อจากศพไว้ เพื่อใช้บังสุกุลสายโยงนั้น ก็ใช้สายสิญจน์ นั่นเอง แต่ไม่เรียกว่าสายสิญจน์เหมือนงานมงคล เรียกว่า สายโยง ถ้าไม่ใช้สายสิญจน์โยง มีหลักที่ต้องระวังอย่างหนึ่ง คือ จะโยงในที่สูงกว่าพระพุทธรูป ที่ตั้งในพิธีไม่ได้ และจะปล่อย ให้ลาดมากับพื้นที่เดินหรือนั่งก็ไม่เหมาะเพราะสายโยงนี้ เป็นสาย ที่ล่ามโยงออกมาจากกระหม่อม ของศพ เป็นสิ่งเนื่องด้วยศพ จึงต้องล่ามหรือโยงให้สมควร
     ส่วนการปฏิบัติกรณียกิจ ในเมื่อพระสงฆ์มาถึงตามกำหนดแล้วก็คล้ายกับงานมงคล
     สำหรับ ข้อปฏิบัติในวันเลี้ยงพระ ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในงานมงคล มีแต่เพียงว่า ในงานมงคล หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว นิยมให้มีบังสุกุล แล้วจึงถวายไทยธรรม เมื่อพระสงฆ์ อนุโมทนาพึงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลต่อไป
     พิธี ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ต้องใช้พัดที่เกี่ยวกับงานศพเป็นเหมาะสม เพราะงานอวมงคล เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตายทั้งสิ้น ถ้าไม่มี จะใช้พัดงานอื่นก็ได้ เช่น พัดงานฉลองต่าง ๆ การสวดมนต์ ในงานอวมงคลนี้ (สวดมนต์เย็นและฉันวันรุ่งขึ้น) มีระเบียบนิยมเหมือนกัน ในตอนต้นและตอนท้าย ทุกงาน ต่างกันแต่ตอนกลาง ซึ่งมีนิยมเฉพาะงาน ๆ ดังนี้
     ๑. ทำบุญศพ ๗ วัน สวดอนัตตลักขณสูตร
     ๒. ทำบุญศพ ๕๐ วัน สวดอาทิตตปริยายสูตร
     ๓. ทำบุญศพ ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพสวดธรรมนิยามสูตร
     ๔. ทำบุญศพในวาระอื่นจากที่กล่าวนี้จะสวดสูตาอื่นใดนอกจากที่กล่าว นี้ก็ได้ แล้วแต่ เจ้าภาพประสงค์หรือหัวหน้านำสวด แต่มีธรรมเนียมอยู่ว่า ไม่สวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัย
     ใน การสวดนี้ มีระเบียบปฏิบัติ คือ เมื่อพระหัวหน้าให้ศีลและเจ้าภาพอาราธนา สวดพระปริตรจบแล้ว ไม่ต้องขัด สคฺเค พระทุกรูปประนมมือพร้อมกันแล้ว หัวหน้านำสวด
       ก. นมการปาฐะ (นโม......)
       ข. สรณคมนปาฐะ (พุทฺธํ สรณํ.....)
       ค. ปัพพโตปมคาถาและอริยธนคาถา (ยถาปิ เสลา....)
     พอ จบตอนนี้ ทั้งหมดลดมือลง แล้วรูปที่นั่งอันดับ ๓ ตั้งพัดขัดบทขัดของสูตร ที่กำหนด สวดตามงานสูตรใดสูตรหนึ่ง เมื่อขัดจบวางพัด ทุกรูปประนมมือพร้อมกันอีก หัวหน้านำสวดสูตร ที่ขัดนำนั้น จบสูตรแล้ว นำสวดบทท้ายสวดมนต์ของงานอวมงคลต่อ คือ
       ก. ปฏิจจปมุปบาท (อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา....)
       ข. พุทธอุทานคาถา (ยทา หเว....)
       ค. พุทเทกรัตตคาถา (อตีตํ นานฺวาคเมยฺย....)
       ฆ. ภวตุ สพฺพมงฺคลํ....
     ถ้าสวดธรรมนิยามสูตร ใช้สวดติลักขณาทิคาถา (สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯเปฯ เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ) ก่อนสวดปฏิจจสมุปบาท
     เมื่อ พระสวดมนต์จบแล้ว ถ้ามีการชักผ้าบังสุกุลต่อท้าย เจ้าจะลากสายโยงหรือภูษาโยง แล้วทอดผ้า พอทอดถึงรูปสุดท้าย พระสงฆ์ก็ตั้งพัดพร้อมกัน (อย่าข้าสายโยง หรือภูษาโยง เพราะ จะถือว่าเป็นการข้ามศพ) การตั้งพัดในพิธีชักบังสุกุลของพระให้ใช้มือซ้ายจับพัดแล้วใช้มือ ขวาจับผ้าบังสุกุล
     ใน กรณีที่เจ้าภาพบำเพ็ญกุศลเพียงสดมนต์ ไม่มีการเลี้ยงพระ ไม่ต้องสวดบทถวาย พรพระ เมื่อพระสงฆ์รับไทยธรรมแล้ว หากไม่มีการรีบด่วน ในการอนุโมทนาด้วยบทวิเสส อนุโมทนา พึงใช้บท อทาสิ เมเพราะศพยังปรากฏอยู่
       ข. งานทำบุญอัฐิ
     พิธี ฝ่ายเจ้าภาพ พึงจัดตระเตียมทำนองเดียวกับงานทำบุญหน้าศพที่กล่าวแล้ว ทุกประการ ต่างแต่เพียงงานนี้เป็นงานทำบุญหน้าอัฐิหรือรูปที่ระลึกของผู้ที่ล่วงลับ เป็นต้น เจ้าภาพต้องเตรีมที่ตั้งอัฐิหรือที่ตั้งรูประลึกนั้น ๆ ต่างหากจากโต๊ะบูชา จะใช้โต๊ะหมู่หรือโต๊ะอื่นใด ที่สมควรก็ได้ ให้มีออกไม้ตั้งหรือประดับพองามตามแต่จะพึงจัดได้ และตั้งกระถางธูปกับเชิงเทียน ๑ คู่ ที่หน้าโต๊ะอัฐิหรือรูปนั้นด้วยเพื่อบูชา จะใช้พานหรือกระบะเครื่องห้าสำหรับบูชาแทนก็ได้ ข้อสำคัญให้ดูงามเด่นพอควร เป็นใช้ได้
     พิธี ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ส่วนใหญ่ก็พึงปฏิบัติเช่นเดียวกับงานทำบุญหน้าศพ ต่างแต่ การสวดมนต์ นิยมใช้สูตรอืท่นจากอนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร และธรรมนิยามสูตร ที่ใช้สำหรรับงานทำบุญศพ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือหน้าวัน ปลงศพดังกล่าวแล้ว (ในปัจจุบัน สวดธรรมนิยามสูตรก็มี) ทั้งนี้แล้วแต่หัวหน้าสงฆ์ จะกะนัดหมาย หรือเจ้าภาพจำนง หมาย เช่น สติปัฏฐานปาฐะ เป็นต้น


ความหมาย

     พิธี ถวายทานต่าง ๆ เรียกว่า ทานพิธี ในที่นี้จะกว่าเฉพาะทานพิธีสามัญ ที่จำเป็น และนิยมบำเพ็ญกันอยู่ทั่วไป และจะกล่าวเฉพาะระเบียบปฏิบัติกับคำถวาย ของฝ่ายทายกเท่านั้น
     การถวายทาน คือ การถวายวัตถุที่ควรให้เป็นทาน ในพระพุทธศาสนา เรียกวัตถุที่ควร ให้เป็นทานนี้ว่าทานวัตถุท่าน จำแนกไว้ ๑๐ ประการ คือ (๑) ภัตตาหาร (๒) น้ำรวม ทั้งเครื่องดื่มอันควรแก่สมณบริโภค (๓) ผ้าเครื่องนุ่งห่ม (๔) ยานพาหนะ สงเคราะห์ ปัจจัยค่าโดยสารเข้าด้วย (๕) มาลัยและดอกไม้เครื่องบูชาชนิด ต่าง ๆ (๖) ของหอม หมายถึง ธูปเทียนบูชาพระ (๗) เครื่องลูบไล้ หมายถึง เครื่อง สุขภัณฑ์สำหรับชำระร่างกายให้สะอาด มีสบู่ถูกตัว เป็นต้น (๘) เครื่องที่นอนอันควรแก่สมณะ (๙) ที่อยู่อาศัย มีกุฏิเสนาสนะ และ เครื่องสำหรับเสนาสนะเช่น เตียง ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น (๑๐) เครื่องตามประทีป มีเทียน จุดใช้แสงตะเกียง น้ำมันตะเกียงและไฟฟ้า เป็นต้น ทั้ง ๑๐ ประการนี้ควรแก่การถวายเป็นทาน แก่ภิกษุสามเณร เพื่อใช้สอย หรือบูชาพระตามสมควร แต่การถวายทานนี้มีนิยม ๒ อย่าง คือ
     ๑. ถวายเจาะจงเฉพาะรูปนั้นรูปนี้อย่างหนึ่ง เรียกว่า ปาฏิบุคลิกทาน
     ๒. ถวายไม่เจาะจงรูปใด มอบเป็นของกลางให้สงฆ์จัดเฉลี่ยกันใช้สอยเอง อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า สังฆทาน
     สำหรับ ปาฏิบุคลิกทานไม่จำต้องมีพิธีกรรมอะไรในการถวาย เพราะผู้ถวายเกิดศรัทธา จะถวายสิ่งไร แก่ภิกษุหรือสามเณรรูปใด ก็จัดสิ่งนั้นมอบถวายเฉพาะรูปนั้น เป็นรายบุคคล สำเร็จเป็นทานแล้ว และผู้รับปาฏิบุคคลทาน จะอนุโมทนาอย่างไรนั้น ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลเช่นกัน
     แต่ สำหรับสังฆทาน เป็นการถวายสงฆ์เกี่ยวกับพระสงฆ์ส่วนรวมในวัด จัดเป็น การสงฆ์ไม่ใช่การบุคคลดังกล่าว จึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องด้วยพิธีกรรม โดยเฉพาะการถวาย และการอนุโมทนาของสงฆ์ย่อมมีพิธีปฏิบัติ ฉะนั้นในหมวดนี้ จึงจะกล่าวทานพิธีเฉพาะส่วน ที่ถวายเป็นการสงฆ์อย่างเดียว และทานที่ถวายสงฆ์นั้น แม้มีกำหนดวัตถุเป็น ๑๐ ชนิดแล้ว ก็มีนิยมถวายวัตถุใน ๑๐ ชนิดนั้นเป็นรายการ ๆ แยกคำถวายต่างกันออกไปอีกมากมาย แต่จะเป็นถวายอะไรก็ตาม เมื่อสงเคราะห์ก็อยู่ในปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช ทั้งนั้น และการถวายก็มีนิยมเป็น ๒ คือ ถวายในกาลที่ควรถวายสิ่งนั้น ๆ เรียกว่า กาลทาน ๑ ถวายไม่เนื่องด้วยกาลหรือนอกกาลอีก ๑ ซึ่งมีระเบียบปฏิบัติ ดังนี้


ระเบียบพิธี

     ๑. หลักสำคัญของการถวายทานเป็นการสงฆ์มีอยู่ว่า ต้องตั้งใจถวายเป็นสงฆ์จริง ๆ อย่าเห็นแก่หน้าบุคคลผู้รับว่า เป็นภิกษุหรือสามเณร เป็นพระสังฆเถระ หรือพระอันดับ ถ้ามิฉะนั้นแล้วจะเป็นเหตุให้จิตใจไขว้เขว เกิดความยินดียินร้าย ไปตามบุคคลผู้รับ ซึ่งจะเสีย พิธีสังฆทานไป ควรทำใจว่าผู้รับจะเป็นบุคคลชนิดใด ๆ ก็ตาม เมื่อเป็นผู้รับในนามของสงฆ์ ซึ่งสงฆ์จัดมา หรือเป็นผู้มาถึงเฉพาะหน้า ในขณะตั้งใจถวายสงฆ์แล้ว ก็ถวายทานนั้น ๆ อุทิศให้ เป็นสงฆ์จริง ๆ
     ๒. ตระเตรียมทานวัตถุที่ต้องการถวายให้เสร็จเรียบร้อย ตามศรัทธาและทันเวลาถวาย ถ้าเป็นภัตตาหาร จีวร และคิลานเภสัช ซึ่งเป็นวัตถุยกประเคนได้ จะเป็นของถวายเนื่องด้วยกาล หรือไม่ก็ตาม ต้องจัดให้ถูกต้องตามนิยมของทานชนิดนั้น ๆ แต่ถ้าเป็นเสนาสนะหรือเครื่องเสนาสนะ ซึ่งต้องก่อสร้างกับที่และเป็นของใหญ่ใช้ติดที่ ก็ต้องเตรียมการตามสมควร
     ๓. เผดียงสงฆ์ คือ แจ้งความประสงค์ที่จะถวายทานนั้น ๆ ให้สงฆ์ทราบ ถ้าเป็น ภัตตาหาร หรือ จีวร คิลานเภสัช ซึ่งมีจำนวนจำกัดไม่ทั่วไปแก่สงฆ์ ผู้รับให้ตามจำนวนต้องการ และนัดแนะสถานที่กับกำหนดเวลาให้เรียบร้อยด้วย
     ๔. ในการถวายทานนั้น ถ้ามีพิธีอื่นประกอบด้วย ก็เป็นเรื่องของพิธีแต่ละอย่าง ๆ ไป เฉพาะพิธีถวายทานเมื่อถึงกำหนด ฝ่ายทายกพึงดำเนินพิธี ดังนี้
       ก. จุดธูปเทียนหน้าที่บูชาพระ ถ้ามีตั้งอยู่ด้วย
       ข. อาราธนาศีล และรับศีล
       ค. ประนมมือกล่าวว่าคำถวายทานนั้น ๆ ตามแบบ
     ใน การกล่าวคำถวายนี้ ทุกครั้ง ต้องตั้ง นโมก่อน ๓ จบ ถ้าถวายรวมกันมากคน ควรว่า นโม พร้อมกันก่อน แล้วหัวหน้ากล่าวนำคำถวายให้ผู้อื่นว่าตามเป็นคำ ๆ ทั้งคำบาลีและคำแปล จนจบ แต่คำแปลในบางกรณีที่มีคำถวายบาลียืดยาวจะเว้นไม่กล่าวก็ได้ ต่อนั้นถ้าเป็นของควร ประเคนก็ประเคน จะประเคนสิ่งของประเภทอาหารแต่เที่ยงแล้วไปหาได้ไม่ อนึ่ง เสนาสนะหรือ วัตถุที่ใหญ๋โต ไม่สามารถจะยกประเคนได้ ถ้าประสงค์จะประเคน ใช้น้ำหลั่งลงบนมือของสงฆ์ผู้เป็น ประธานในพิธี ก็ถือว่าได้ประเคนแล้ว
     ๕. พระสงฆ์ที่ได้รับอาราธนา เพื่อรับสังฆทานตามธรรมเนียมของทานนั้น ๆ แล้ว บางพวก ในขณะที่ทายกกล่าวคำถวายทานประนมมือ เป็นอาการแสดงถึงการรับทานโดยเคารพ เมื่อทายกกล่าวคำถวายจบแล้ว เปล่งวาจา สาธุ พร้อมกัน บางพวก เมื่อทายกกล่าวคำถวายจบ แล้วจึงประนมมือ เปล่งวาจา สาธุ ทั้งนี้ สุดแต่จะควร สถานใดกล่าวไว้ตามที่เคยเห็นเท่านั้น เมื่อเสร็จการประเคนแล้ว พึงอนุโมทนาด้วยบท
       ก. ยถา....................................................................................
       ข. สพฺพีติโย.............................................................................
       ค. บทอนุโมทนาโดยควรแก่ทาน..................................................
       ฆ. ภวตุ สพฺพมงฺคลํ.................................................................
     ๖. ขณะพระสงฆ์อนุโมทนา ทายกพึงกรวดน้ำ เมื่อพระเริ่มบท ยถา... พอถึงบท สพฺพีติโย... เป็นต้นไป พึงประนมมือรับพรไปจนจบ แล้วกราบ ๓ หน เป็นอัน เสร็จพิธีถวายทาน
คำถวายสังฆทาน (ประเภทสามัญ)
อิมานิ มยํ ภนฺเต ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ


คำถวายต่างๆ
คำถวายสังฆทาน (ประเภทมตกภัตอุทิศผู้ตาย)
อิมานิ มยํ ภนฺเต มตกภตฺตานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, มตกภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากญฺเจว, มาตาปิตุ อาทีนญฺจ �าตกานํ, กาลกตานํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายมตกภัตตาหาร กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับมตกภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีมารดาบิดา เป็นต้น ผู้ทำกาละล่วงลับไปแล้วด้วย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

คำถวายสลากภัต
เอตานิ มยํ ภนฺเต, สลากภตฺตานิ, สปริวารานิ, อสุกฏฺาเน, €ปิตานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, เอตานิ, สลากภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายสลากภัตตาหารกับทั้งบริวาร ทั้งหลาย ซึ่งตั้งไว้ ณ ที่โน้นนั้น แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ซึ่งสลากภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านั้น ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายข้าวสาร
อิมานิ มยํ ภนฺเต ตณฺฑุลานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ อิมานิ, ตณฺฑุลานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายข้าวสารกับทั้งเครื่องบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับข้าวสารกับทั้งเครื่องบริวารทั้งหลาย เหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและ ความร่มเย็นเป็นสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายเภสัชทานมีน้ำผึ้งเป็นต้น
สรโท นามายํ ภนฺเต, กาโล สมฺปตฺโต, ยตฺถ ตถาคโต, อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ, สารทิกาพาเธน อาพาธิกานํ, ภิกฺขูนํ, ปญฺจ เภสชฺชานิ, อนุญฺ�าสิ, สปฺปึ, นวนีตํ, เตลํ, มธุํ ผาณิตํ, มยนฺทานิ, ตกฺกาลสทิสํ สมฺปตฺตา ตสฺส ภควโต, ปญฺ�ตฺตานุคํ, ทานํ ทาตุกามา, เตสุ ปริยาปนฺนํ, มธุํ จ, เตลํ จ, ผาณิตํ จ, ภิกฺขูนญฺเจว, สามเณรานญฺจ, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, อยฺยา ยถาวิภตฺตา, มธุทานํ จ, เตลํ จ, ผาณิตํ จ, ปฏิคฺคณฺหนฺตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แด่พระสงฆ์ผู้เจริญ บัดนี้สรทกาลมาถึงแล้ว ในกาลใดเล่า พระตถาคต อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ทรงอนุญาตเภสัช ๕ อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แก่ภิกษุ ทั้งหลายผู้อาพาธ ด้วยโรคเกิดในสรทกาล บัดนี้ข้าพเจ้าทั้งหลาย มาถึงกาลเช่นนี้แล้ว ปรารถนา จะถวายทานตามพระพุทธานุญาต ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จึงถวายน้ำผึ้งกับน้ำมันและน้ำอ้อย อันนับเข้าในเภสัช ๕ อย่างนั้น แก่ภิกษุและสามเณรทั้งหลาย ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงรับ มธุทาน เตลทาน และผาณิตทาน ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ตามที่แจกถวายแล้วนั้น เพื่อประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายเสนาสนะ กุฏิ วิหาร
อิมานิ มยํ ภนฺเต, เสนาสนานิ, อาคตานาคตสฺส, จาตุทฺทิสสฺส, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, เสนาสนานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเสนาสนะเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี ยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ เสนาสนะเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายศาลาโรงธรรม
มยํ ภนฺเต, อิมํ สาลํ, ธมฺมสภาย, อุทฺทิสฺส, จาตุทฺทิสสฺส, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมํ สาลํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายศาลาหลังนี้แก่พระภิกษุสงฆ์ที่มี ในทิศทั้ง ๔ อุทิศเพื่อเป็นสถานที่แสดงธรรม ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ศาลาหลังนี้ของข้าพเจ้า ทั้งหลายเพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายผ้าวัสสิกสาฎก
อิมานิ มยํ ภนฺเต, วสฺสิกสาฏิกานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, วสฺสิกสาฏิกานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าอาบน้ำฝน กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ผ้าอาบน้ำฝน กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
หมายเหตุ :- ถ้าไม่มีเครื่องบริวารถวายพ่วงด้วย ก็ตัดคำบาลีว่า สปริวารานิและคำแปลว่า กับทั้งบริวารออกเสียทุกแห่ง

คำถวายผ้าจำนำพรรษา
อิมานิ มยํ ภนฺเต, วสฺสาวาสิกจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, วสฺสาวาสิกจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจำนำพรรษา กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าจำนำพรรษา กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลายเพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายผ้าอัจเจกจีวร
อิมานิ มยํ ภนฺเต, อจฺเจกจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, อจฺเจกจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าอัจเจกจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอัจเจกจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายผ้าป่า
อิมานิ มยํ ภนฺเต, ปํสุกูลจีวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โฮโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อ ประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายผ้ากฐิน (แบบ ๑)
อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, (ว่า ๓ จบ)
คำแปล
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้ แก่พระสงฆ์ ฯ

คำถวายผ้ากฐิน (แบบ ๒)
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน, ินํ, อตฺถรตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวาร นี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้วจงกราน กฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายธูปเทียนดอกไม้เพื่อบูชา
อิมานิ มยํ ภนฺเต, ทีปธูปปุปฺผวรานิ, รตนตฺตยสฺเสว, อภิปูเชม, อมฺหากํ, รตนตฺตยสฺส ปูชา, ทีฆรตฺตํ, หิตสุขาวหา, โหตุ, อาสวกฺขยปฺปตฺติยา.
คำแปล
ข้า แต่พระคุณเจ้าทั้งหลายผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาธูปเทียนและดอกไม้ อันประเสริฐเหล่านี้ แก่พระรัตนตรัย กิริยาที่บูชาแก่พระรัตนตรัยนี้ จงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน จงเป็นไปเพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพาน เป็นที่สิ้นไป แห่งอาสวกิเลส เทอญ ฯ

คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป
มยํ อิมินา ปทีเปน, อสุกาย, นมฺมทาย, นทิยา, ปุลิเนิตํ, มุนิโน, ปาทวลญฺชํ, อภิปูเชม, อยํ, ปทีเปน, มุนิโน ปาทวลญฺชสฺส, ปูชา, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.
คำแปล
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งรอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทราย ในแม่น้ำ ชื่อนัมมทานทีโน้น ด้วยประทีปนี้, กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาท ด้วยประทีปนี้ ขอจงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายธงเพื่อบูชา
มยํ อิมินา, ธชปฏาเกน, รตนตฺตยํ, อภิปูเชม, อยํ ธชปฏาเกน, รตนตฺตยปูชา, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.
คำแปล
ข้าพเจ้า ทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งพระรัตนตรัย ด้วยธงแผ่นผ้านี้ กิริยาที่บูชาพระรัตนตรัย ด้วยธงแผ่นผ้านี้ ขอจงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายเวจกุฎี
มยํ ภนฺเต, อิมํ วจฺจกุฏึ, อาคตานาคตสฺส, จาตุทฺทิสสฺส, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ อิมํ, วจฺจกุฏึ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเวจกุฎีหลังนี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี ยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับเวจกุฎีหลังนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายสะพาน
มยํ ภนฺเต, อิมํ, เสตุํ, มหาชนานํ, สาธารณตฺถาย, นิยฺยาเทม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมสฺมึ, เสตุมฺหิ, นิยฺยาทิเต, สกฺขิโก โหตุ, อิทํ, เสตุทานํ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.
คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอมอบถวาย ซึ่งสะพานนี้ เพื่อประโยชน์ ทั่วไป แก่มหาชนทั้งหลาย ขอพระสงฆ์จงเป็นพยาน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ในสะพานที่ ข้าพเจ้าทั้งหลายได้มอบให้แล้วนี้ ขอเสตุทานนี้ จงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้า ทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

ความหมาย

     พิธีกรรม ที่จะกล่าวในบทนี้เป็นพิธีเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติบางประการ ในการ ประกอบพิธีต่าง ๆ ที่กล่าวแล้วในหมวดต้น ๆ มาชี้แจงเพื่อความรู้ และเพื่อเป็นทางปฏิบัติ แต่จะกล่าวเฉพาะเรื่องที่มิได้ชี้แจงไว้ข้างต้นเพียง ๕ เรื่องเท่านั้น คือ
     ๑. วิธีแสดงความเคารพพระ
     ๒. วิธีประเคนของพระ
     ๓. วิธีทำหนังสืออาราธนา และทำใบปวารณาถวายจตุปัจจัย
     ๔. วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาธรรม
     ๕. วิธีกรวดน้ำ
จะได้แสดงวิธีปฏิบัติต่อไปตามลำดับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น