วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

งานอุปสมบท

งานบวชพระ

โครงการอุปสมบทหมู่ บวชฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย มีหลายรุ่นให้เลือกบวช

ครั้งหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชายต้องบวชให้ได้อย่างน้อย 1 พรรษา
 
 
 
งานบวชพระ  
การบวช เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตลูกผู้ชาย

งานบวช ประเพณีงานบวช

     บวช คืออะไร คำว่า "บวช" เป็นภาษาไทย ซึ่งถอดรูปมาจากคำในภาษาบาลีว่าปพฺพชฺชา ส่วนคำว่า "ปพฺพชฺชา" นั้น มีรากศัพท์ คือ ป + วช : "ป" แปลว่า ทั่วหรือสิ้นเชิง "วช" แปลว่า ไป หรือเว้น คำว่า บวช จึงแปลว่า ไปโดยสิ้นเชิง หรือ การเว้นโดยสิ้นเชิง คำว่า "ไปโดยสิ้นเชิง" นั้นหมายถึง ไปจากความเป็นฆราวาส คือ ไปจากการครองเรือนไปสู่ความเป็นบรรพชิต คือ ผู้ไม่ครองเรือนโดยสิ้นเชิงนั่นเอง

   งานบวช เป็นประเพณีไทยสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ชายไทยเมื่ออายุครบบวช จะต้องบวชให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสืบทอดอายุพระพุทธสาสนา สร้างกุศลอันยิ่งใหญ่ให้ตนเองและบิดามารดารวมทั้งหมู่ญาติ การมีโอกาสได้เป็นนักบวช ดำรงเพศสมณะผุ้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเอง เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก็สามารถค้นหาแหล่งความสุขที่แท้จริง ศึกษาเรื่องราวความจริงของชีวิต เป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ ว่าเกิดมาทำไม ตายแล้วไปไหน บาปบุญคุณโทษ นรกสวรรค์ ภพนี้ภพหน้า และสังสารวัฏ ซึ่งเป็นความรู้ที่มีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาที่ทนทานต่อการพิสูจน์

      ผู้ที่มาบวช ถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีบุญมาก เพราะเพศสมณะใช่ว่าใครจะมาอยู่ได้ง่ายๆ ต้องสั่มสมบุญกันมาข้ามภพ ข้ามชาติ เมื่อบารมีมาก ขึ้นก็มีโอกาสมาบวชใน บวรพุทธศาสนา ดูอย่างในสมัยพุทธกาลเป็นต้นแบบ ผู้ที่จะมาบวชไม่ได้ผู้ด้อยโอกาส แต่เป็นผู้ที่มาจากหลากหลายตระกูล ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะเห็นโทษภัยในการครองเรือนในวัฏฏสงสาร จึงมาออกบวช หลายท่านมาจากตระกูลขัตติยะก็มี แพศย์ก็มี ศูทรก็มี การที่ตระกูลกษัตริย์ พราหมณ์และมหาเศรษฐีต่างเข้ามาบวช ก็แสดงว่าการบวชไม่ใช่เรื่องธรรมดา ไม่ใช่เรื่องของผู้ด้อยโอกาส แต่เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวด
 
 
บวชพระบุญใหญ่ของชีวิต
 
 บวชพระทดแทนคุณบิดรมารดา

     การบวชจะเป็นการช่วยทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา และมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยของเราเป็นดินแดนแห่งสันติสุขอันเกิดจาก พุทธธรรม อีกทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่ผู้บวชทุกท่าน จะได้ฝึกฝนอบรมตนเอง เพื่อให้เป็นพระแท้ตามพระธรรมวินัย เปี่ยมด้วยศีล สมาธิ(Meditation)(Meditation) และปัญญา ซึ่งถือเป็นการใช้วันเวลาอย่างคุ้มค่าและมีความหมายต่อการเกิดมาเป็นมนุษย์ อย่างยิ่ง ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เคยตรัสไว้ว่า "ชีวิตเพียงวันเดียวของผู้มีศีล มีสมาธิ ยังประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี ของผู้ทุศีล ไร้สมาธิ"


อานิสงส์ของการบวช

 
1. เป็นผู้รู้จักบริหารเวลา คือรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เรียกว่า ความเป็นผู้รู้กาล ซึ่งเป็นคุณธรรมข้อหนึ่งที่ทำให้เป็นสัปบุรุษ

2. แม้ช่วงเวลาจะสั้น แต่ถ้าลงปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะได้รับความสุขสงบจากการบำเพ็ญสมณะธรรม

3. มีโอกาสได้ศึกษาหลักธรรม ซึ่งนำไปใช้ควบคู่กับความรู้ทางโลก ให้ได้ใช้ความรู้ ในทางที่ถูกที่ควร
4. ได้ฝึกวินัยและเข้าใจวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ถ้าตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเองอย่างจริงจัง ต่อไปจะเป็นคนรักระเบียบวินัย
 
5. ได้ฝึกสมาธิ ทำจิตให้สงบ ซึ่งเป็นผลดีต่อการเรียนและการทำงานต่างๆ
 
6.  เกิดความปลื้มปีติยินดีที่ได้ทำความดี ซึ่งความปีตินี้เองที่จะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหัวใจอยู่เสมอ
7. ทำให้มีความอดทน ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆ

8. ทำให้รู้จักตนเอง คือรู้ว่าตนเองมีความรู้ความสามารถคุณธรรมแค่ไหน เพียงใด เพื่อที่จะได้พัฒนาปรับปรุง ตนเองให้ดียิ่งขึ้น

9.ได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มถากถางหนทางไปพระนิพพาน

10. ผู้บวชย่อมได้โอกาสในการสั่งสมเนกขัมมบารมี (คือบารมีที่เกิดจากการออกบวช) ตามรอยบาท พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
11. ผู้บวชย่อมได้บุญใหญ่ที่จะช่วยปิดอบาย เปิดหนทางสวรรค์และพระนิพพาน ติดตัวไปยาวนาน ถึง 64 กัป
 
12. ผู้บวชและ ผู้สนับสนุนการบวชย่อมได้อานิสงส์ (ผลที่ได้จากการทำความดี) คือ เป็นผู้มีปัญญา มีสัมมาทิฐิ สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์และอริยทรัพย์ และได้เกิดในดินแดนที่มีพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ไปนับภพนับชาติไม่ถ้วน
13. สังคมและประเทศชาติเกิดความสงบสุข ร่มเย็น ผ่านพ้นปัญหาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้อย่างเป็นอัศจรรย์

14.  สร้างผู้นำทางศีลธรรมให้เกิดขึ้นทั่วแผ่นดินไทย จะได้ช่วยกันสืบทอดอายุพระพุทธศาลนาให้อยู่คู่ชาติไทยและโลกใบนี้ไปตราบนานเท่านาน

15. สร้างความสมัครสมานสามัคคีให้เกิดขึ้นแก่พุทธบริษัท 4 ทั้งแผ่นดินไทย เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีบทบาทในการฟื้นฟูศีลธรรม และพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืนสืบไป
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น